การสร้างแบบทดสอบ (Quiz)
Quiz คิือหนึ่งในวิธีการทดสอบความรู้ของผู้เรียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เพื่อการเรียนรู้ และเพื่อการทดสอบ
หลักการทดสอบแบบ Formative และ Summative
Formative Quiz หรือ ทำ Quiz เพื่อการเรียนรู้
โดยมีเป้าหมาย คือ การตรวจสอบการเรียนรู้ของผู้เรียน ประกอบกับการนำผลลัพธ์จากการทดสอบมาประเมิน เพื่อให้ผู้สอนได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะกลับไปยังผู้เรียน เพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ช่วยให้ผู้เรียนรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตน และกำหนดเป้าหมายในส่วนที่ต้องเน้น
ช่วยผู้สอนได้รับรู้ส่วนที่ผู้เรียนกำลังมีปัญหา เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกจุด
รูปแบบของ Formative Quiz โดยทั่วไปจะไม่มีการเก็บคะแนนหรือมีคะแนนน้อย เน้นผลลัพธ์จากการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่น
ให้เหตุผลหรือข้อเสนอแนะระหว่างที่ผู้เรียนกำลังทำแบบทดสอบวัดความรู้
ให้ผู้เรียนวาด หรือแสดงแนวคิดเพื่อแสดงความเข้าใจในหัวข้อที่อาจารย์ได้สอน
ให้เขียนคำจำกัดความเพียงหนึ่งหรือสองประโยค เพื่อระบุประเด็นหลักของการบรรยาย
ส่งบทคัดย่องานวิจัย เพื่อรับข้อเสนอแนะในช่วงต้น
Summative Quiz หรือ ทำ Quiz เพื่อการประเมินผล
โดยมีเป้าหมาย คือ ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน โดยการเปรียบเทียบกับมาตรฐานหรือเกณฑ์มาตรฐานบางอย่าง
รูปแบบของ Summative Quiz ค่อนข้างจะชัดเจนคือการเก็บและวัดผลคะแนนในขั้นตอนสุดท้ายของเนื้อหา
การเตรียมแบบทดสอบ
คลิ๊กที่เมนู "Turn editing on" ก่อนทำการตั้งค่า
คลิ๊กที่เมนู "Add an activity or resource" แล้วเลือกที่ "Quiz"
คลิ๊กปุ่ม "Add" เพื่อเพิ่มแบบทดสอบ
การตั้งค่าแบบทดสอบ (Quiz settings)
การสร้าง Quiz ใหม่หลักแล้วจะมีอยู่ 2 ขั้นตอนด้วยกัน โดยขั้นตอนแรกคือการสร้างและตั้งค่า Quiz ขั้นตอนที่สองคือการเพิ่มคำถาม ซึ่งในส่วนของการตั้งค่าจะประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้
ทั่วไป (General)
เพิ่มตั้งชื่อ Quiz ที่นี่ และสามารถเพอ่มอธิบายสิ่งที่ต้องทำได้ตามความต้องการ
กำหนดเวลา (Timing)
วันแรกที่สามารถทำแบบทดสอบได้ (Open the quiz) - การกำหนดเวลาเพื่อเข้าถึงแบบทดสอบ ผู้เรียนไม่สามารถเข้าทำแบบทดสอบได้หากยังไม่ถึงเวลาที่กำหนด แต่จะสามารถเข้ามาอ่านรายละเอียดหรือหน้าแรกของแบบทดสอบก่อนได้ วันเปิด-ปิด ของแบบทดสอบจะแสดงให้ผู้เรียนเห็นผ่านทางหน้าแรกของแบบทดสอบ
วันสุดท้ายที่อนุญาตให้ทำแบบทดสอบ (Close the quiz) - หลังจากปิดการทำแบบทดสอบ ผู้เรียนจะไม่สามารถเริ่มต้นการทดสอบใหม่ได้ คำตอบที่นักเรียนส่งหลังจากวันปิดจะไม่ถูกนับคะแนน ถึงแบบทดสอบจะถูกปิดลงผู้เรียนจะยังสามารถดูรายละเอียดแบบทดสอบและทบทวนคำตอบได้ สิ่งที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นจะขึ้นอยู่กับการตั้งค่า ที่ผู้สอนได้เลือกไว้
จำกัดเวลา (Time limit) - โดยค่าเริ่มต้นของแบบทดสอบจะไม่ได้มีการจำกัดเวลา ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีเวลามากพอที่ต้องทำแบบทดสอบ หากผู้สอนจำกัดเวลาในการทำแบบทดสอบ จะมีสถานะต่างๆ ขึ้นมาให้ผู้เรียนได้ทราบดังนี้
นาฬิกาจับเวลาจะปรากฏขึ้นในบล็อกของแบบทดสอบ (ดังรูป)
เมื่อเวลาหมดการทดสอบจะถูกส่งโดยอัตโนมัติพร้อมกับคำตอบข้อล่าสุดที่ผู้เรียนกำลังทำ
หากผู้เรียนใช้เวลาเกินกำหนด คำตอบใดๆที่ถูกป้อนเข้ามาจะไม่ถูกนำไปนับคะแนน
เมื่อหมดเวลา (When time expires..) - มีสามทางเลือกว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเวลาหมด ผู้สอนสามารถเลือกรายการที่ต้องการจากเมนู dropdown menu
แบบทดสอบที่ทำอยู่จะถูกส่งโดยอัตโนมัติ (ค่าเริ่มต้นของระบบ)
ผู้เรียนสามารถส่งคำตอบหลังเวลาแบบทดสอบหมดได้ในช่วงเวลาผ่อนผันเพิ่มเติมที่กำหนด แต่ไม่สามารถทำแบบทดสอบเพิ่มได้
ผู้เรียนต้องส่งคำตอบก่อนเวลาแบบทดสอบจะหมดลง
หากผู้สอนเลือก "มีช่วงเวลาผ่อนผัน ... " ผู้สอนสามารถเลือกช่องทำเครื่องหมายเพื่อเปิดใช้งาน "ระยะเวลาผ่อนผันการส่งข้อมูล" และระบุระยะเวลาที่ผู้เรียนอาจส่งคำถามหลังจากเวลาผ่านไป
คะแนน (Grade)
Grade category - กำหนดหมวดหมู่ของคะแนน
Grade to pass - กำหนดเกณฑ์การผ่านแบบทดสอบ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับ "Activity completion" หรือนำไปเป็นเงื่อนไขในการทำกิจกรรมอื่นๆ
จำนวนครั้งที่ให้ตอบ (Attempts allowed) - ผู้สอนสามารถปรับจำนวนครั้งที่อนุญาตให้ทำ สำหรับกลุ่มหรือผู้ใช้ที่ต้องการได้
วิธีตัดเกรด (Grading method) - เมื่อจำนวนการตอบทำได้หลายครั้ง ผู้สอนสามารถใช้เกรดต่างๆเพื่อคำนวณหาคะแนนสุดท้ายของผู้เรียนในการทำแบบทดสอบ
รูปแบบ (Layout)
ผู้สอนสามารถกำหนดว่าแบบทดสอบจะมีหน้าละกี่ข้อผ่านเมนู New page และสามารถกำหนดการทำแบบทดสอบว่าจะถูกบังคับทำเรียงลำดับ หรือทำข้อไหนก่อนก็ได้แบบอิสระผ่านเมนู Navigation method
รูปแบบของคำถาม (Question behavior)
Deferred feedback - ผู้เรียนต้องตอบคำถาม และส่งคำตอบทั้งหมดก่อนที่จะมีการให้คะแนนหรือได้รับข้อเสนอแนะใด ๆ
Adaptive mode - ช่วยให้ผู้เรียนสามารถตอบคำถามข้อเดิมได้หลายครั้ง ก่อนที่จะข้ามไปยังคำถามถัดไป
Interactive mode - หลังจากตอบหนึ่งคำถาม ผู้เรียนสามารถคลิกปุ่ม 'ลองทำอีกครั้ง' และอ่านคำแนะนำเพื่อตอบคำถามใหม่อีกครั้งได้ เมื่อผู้เรียนตอบคำถามถูกต้องแล้วพวกเขาก็จะไม่สามารถกลับมาตอบคำถามได้อีก เมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิด (หรือถูกต้องบางส่วน) หลายครั้ง โดยแต่ละครั้งอาจมีข้อเสนอแนะที่แตกต่างกัน ตามจำนวนครั้งที่ผู้เรียนได้รับสิทธิ์ในการตอบ
Immediate feedback - คล้ายกับ Interactive mode การที่ผู้เรียนสามารถส่งคำตอบของตนเองได้ทันทีในระหว่างการตอบคำถามและรับคะแนน อย่างไรก็ตามพวกเขาสามารถตอบได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นพวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำตอบได้ในภายหลัง
Certainty-based marking (CBM) - ผู้เรียนไม่เพียงแต่ตอบคำถามเท่านั้น แต่ต้องยังระบุว่าพวกเขามีความมั่นใจในคำตอบมากขนาดไหน คะแนนที่ได้จะได้รับการปรับจากความมั่นใจของผู้เรียนในข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เรียนต้องสะท้อนความซื่อสัตย์ในระดับความรู้ของตนเองเพื่อให้ได้คะแนนที่ดีที่สุด
Review options
ในส่วนนี้จะควบคุมข้อมูลที่ผู้เรียนจะได้รับ หลังจากที่พวกเขาได้ส่งคำตอบในการทำแบบทดสอบรูปแบบต่างๆ หรือในระหว่างการทำแบบทดสอบในแบบ Adaptive mode
การแสดงผล (Appearance)
สามารถเลือกได้ว่าจะให้โชวรูปของผู้ทำแบบทดสอบหรือไม่ หรือการกำหนดจุดทศนิยมของคะแนนแบบทดสอบ
Extra restrictions on attempts
ต้องใส่รหัสผ่าน (Require password) - ผู้เรียนจะต้องกรอกรหัสผ่านก่อนถึงเข้าทำแบบทดสอบได้ เป็นประโยชน์มากหากผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนบางกลุ่มเข้าร่วมทำแบบทดสอบ และเป็นทริกอีกอย่างหนึ่ง หากกระบวนวิชามีผู้เรียนจำนวนมากที่ต้องเข้ามาตอบคำถามพร้อมกัน การตั้งรหัสผ่านยาวๆ จะช่วยลดภาระการโหลดของเซิร์ฟเวอร์ให้กระจายไปตามเวลา
ต้องมีที่อยู่เน็ตเวิร์ค (Require network address) - ผู้สอนสามารถจำกัดการเข้าถึงแบบทดสอบ เฉพาะกับเครือข่ายย่อยบน LAN หรืออินเทอร์เน็ตโดยการระบุรายการหมายเลขที่อยู่ IP เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการทำแบบทดสอบที่จัดทำขึ้น โดยผู้สอนต้องการให้แน่ใจว่ามีเฉพาะผู้ที่อยู่ในห้องเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงแบบทดสอบได้ ซึ่งมี 3 รูปแบบด้วยกัน
ใช้ IP เต็ม (Full IP addresses) - เช่น 192.168.10.1 ซึ่งจะตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ Proxy เพียงเครื่องเดียว
ใช้ IP บางส่วน (Partial addresses) - เช่น 192.168 ซึ่งจะใช้ได้กับเครื่องที่ขึ้นต้นด้วยตัวเลขดังกล่าวเท่านั้น
ใช้แบบ CIDR (CIDR notation) - เช่น 231.54.211.0/20 ซึ่งจะช่วยให้สามารถระบุ subnet ที่ละเอียดมากยิ่งขึ้นได้
การหน่วงเวลาระหว่างการทำแบบทดสอบ (Enforced delay between attempts) - คุณสามารถตั้งเวลา (ตั้งแต่รายวินาทีถึงระดับสัปดาห์) ระหว่างการทำแบบทดสอบแต่ละครั้ง หรือจะตั้งค่าให้เริ่มหน่วงเวลาหากผู้เรียนทำแบบทดสอบถึงจำนวนที่ตั้งค่าเอาไว้ก็ได้
ความปลอดภัยของบราวเซอร์ (Browser security) - เป็นตัวเลือกที่ใช้เพื่อพยายามจำกัด วิธีที่ผู้เรียนอาจพยายาม 'โกง' ขณะทำแบบทดสอบ อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงแค่การจำกัดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบางอย่างเท่านั้น (เช่น ความสามารถในการค้นหาคำตอบได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เครื่องมือค้นหา)
Overall feedback
ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำจะแสดงขึ้น หลังจากผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบเสร็จ โดยข้อความที่แสดงขึ้นอยู่กับคะแนนที่ผู้เรียนได้รับ เช่น
วิธีสร้างคำถามและกำหนดคะแนน
หลังจากสร้างแบบทดสอบ (Quiz) และทำการตั้งค่าเรียบร้อยแล้ว
เข้ามาที่แบบทดสอบที่ได้สร้างไว้ แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม "Edit quiz"
กำหนดคะแนนของ Quiz จากช่อง "Maximum grade" บริเวณด้านขวาของหน้าจอ และคลิ๊ก 'save'
เพิ่มคำถามโดยคลิ๊กที่เมนู "Add" เลือกหัวข้อ a new question เพิ่มเริ่มใส่คำถาม
1. แบบปรนัย (Multiple Choice)
สามารถตั้งค่าการทำแบบทดสอบได้ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ แบบมีคำตอบเดียว(Single-answer) และ หลายคำตอบ(Multiple-answer) โดยขั้นตอนการสร้างคำถามมีดังนี้
ตั้งคำถาม
กำหนดคะแนน
เพิ่มคำตอบ (Choice)
เพิ่มข้อเสนอแนะ (Feedback)
2. แบบจับคู่ (Matching)
ผู้สอนต้องมีคำถาม(Question) อย่างน้อยสองข้อ และมีตัวเลือก(Answer) สามข้อเพื่อทำการจับคู่ โดยผู้สอนสามารถกำหนดตัวเลือกเพิ่มเติมได้โดยให้ช่อง Question เว้นว่างไว้
ตั้งคำถาม
เพิ่มตัวเลือกคำตอบเพื่อจับคู่ (สามารถเพิ่มตัวเลือกคำตอบมากกว่าคำถามได้)
3. แบบเติมคำ (Short Answer)
ในขณะการตอบ ผู้เรียนจะพิมพ์คำหรือวลีเพื่อตอบคำถาม (ซึ่งอาจรวมถึงรูปภาพด้วย) ซึ่งอาจจะมีคำตอบที่ตรงหรือไม่ก็ได้ ผู้สอนจำเป็นต้องกำหนดคำตอบที่มีความเป็นไปได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นผู้สอนควรกำหนดคำตอบที่ต้องการให้สั้นที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงคำตอบที่ถูกต้องแต่ไม่ตรงกับเฉลยที่ผู้สอนวางไว้
ตั้งคำถาม
การตั้งค่า Case sensitivity คือ ผู้เรียนจะต้องตอบให้ตรงกับเฉลยทุกตัวอักษร
กำหนดคำตอบและเกณฑ์การให้คะแนน
เพิ่มเติมข้อเสนอแนะ
คำสั่งพิเศษสำหรับการตั้งค่าคำตอบ
คุณสามารถใช้เครื่องหมายดอกจัน (*) เพื่อเป็นตัวเชื่อมคำต่างๆ เช่น
ตัวอย่างของการตั้งเกณฑ์การให้คะแนน
4. แบบเรียงความ (Essay)
คำถามประเภทเรียงความให้ตัวเลือกกับผู้เรียน ในการตอบโดยสามารถอัปโหลดไฟล์ หรือการตอบข้อความแบบออนไลน์ก็ได้
วิธีสร้างคำถามประเภทเรียงความมีลักษณะการสร้าง คล้ายกับการสร้างคำถามในรูปแบบอื่นๆ ความแตกต่างก็คือคำถามแบบเรียงความจะต้องมีผู้ทำการตรวจและให้คะแนน ต่างกับแบบอื่นที่ระบบสามารถตรวจคำตอบและให้คะแนนได้ทันที
Response template
ผู้สอนสามารถสร้างแบบร่างเพื่อให้ผู้เรียนเห็นเค้าโครงของคำตอบได้ ซึ่งจะแสดงให้เห็นเมื่อผู้เรียนทำการเริ่มทำการทำแบบทดสอบ
วิธีสร้างหมวดหมู่ของคำถาม และการนำไปใช้ (Question categories)
หมวดหมู่ของคำถามคืออะไร?
คุณสามารถจินตนาการหมวดหมู่คำถามเป็นโฟลเดอร์บนคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปของคุณก็ได้ ซึ่งคำถามจะถูกเก็บไว้ในหมวดหมู่เหล่านี้ในลักษณะเดียวกับที่ไฟล์ของคุณเก็บไว้ในโฟลเดอร์
วิธีสร้างหมวดหมู่ของคำถาม (Categories)
จากหน้าแรกของกระบวนวิชาคลิ๊กที่ปุ่ม "Course Management"
เลือกเมนู "Question category"
ในส่วนของ "Add category" ให้ทำการตั้งชื่อหมวดหมู่ที่ต้องการ
และคลิ๊กที่ปุ่ม "Add category"
การจัดหมวดหมู่ของคำถาม
จากหน้าแรกของกระบวนวิชาคลิ๊กที่ปุ่ม "Course Management"
เลือกเมนู "Question bank"
เลือกคำถามที่ต้องการจัดหมวดหมู่ และเลือกหมวดหมู่ที่ต้องการ
และคลิ๊กที่ปุ่ม "Move to >>"
ประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่ของคำถาม
ช่วยในการแบ่งคำถามอย่างเป็นสัดส่วน เวลาเลือกคำถามจากการสร้างแบบทดสอบ สามารถนำมาใช้ได้โดยเลือกเมนู "Add -> from quetion bank"
ช่วยเพิ่มความหลากหลายในการทำแบบทดสอบ เช่น
การดูตัวอย่างก่อนเปิดใช้งานจริง (Preview Quiz)
การเข้าดูตัวอย่างของแบบทดสอบก่อนเปิดใช้จริง เป็นการตรวจสอบการใช้งานจริง ก่อนที่ผู้สอนจะนำแบบทดสอบนี้ไปใช้กับผู้เรียน เป็นการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าแบบทดสอบที่ผู้สอนออกแบบนั้นมีรูปแบบที่ผู้สอนต้องการจริงๆ ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้
คลิ๊กที่ไอค่อนฟันเฟือง (Actions) บริเวณมุมขวาของแบบทดสอบ
เลือกเมนู "Preview" เพื่อเข้าดูตัวอย่างแบบทดสอบ
การเข้าดูรายงานผลของแบบทดสอบ (Quiz reports)
จากหน้าของแบบทดสอบ
คลิ๊กที่ไอค่อนฟันเฟือง (Actions) บริเวณมุมขวาของแบบทดสอบ
เลือกเมนู ดังภาพ
คะแนน (Grades)
แสดงการตอบคำถามทั้งหมดของผู้เรียน โดยมีคะแนนรวมและคะแนนสำหรับคำถามแต่ละข้อ และมีลิงก์เพื่อดูรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับการตอบคำถามของผู้เรียน ในหน้าเพจที่เหมือนกันกับหน้าทำแบบทดสอบที่ผู้เรียนเห็น
โดยผลลัพธ์สามารถดาวน์โหลดได้ในรูปแบบไฟล์ต่างๆ
การตอบคำถาม (Responses)
หน้าตาจะคล้ายกับหน้าคะแนน แต่จะเน้นคำตอบข้อต่างๆของผู้เรียน มากกว่าแสดงคะแนนที่พวกเขาได้รับ
นอกจากนี้ยังสามารถแสดงคำถามหรือคำตอบที่ถูกต้องเพื่อเปรียบเทียบกับการตอบของผู้เรียน ซึ่งเป็นประโยชน์มากเมื่อมีการใช้คำถามแบบสุ่ม
หรือสำหรับแบบทดสอบแบบโต้ตอบ (Interactive mode) ผู้สอนสามารถเลือกดูได้ว่าจะให้แสดงคำตอบครั้งแรก หรือครั้งสุดท้าย หรือทั้งหมดที่ผู้เรียนได้ทำการตอบเข้ามา
สถิติ (Statistics)
เป็นสถิติการตอบคำถามในแบบทดสอบ ซึ่งมีข้อมูลสำคัญต่างๆ เช่น
Facility Index - เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนที่ตอบคำถามอย่างถูกต้อง เป็นการบแสดงถึงความยากง่ายของคำถาม
Random guess score - คะแนนที่ผู้เรียนจะได้รับ โดยการคาดเดาแบบสุ่ม
Discrimination index/efficiency - ค่าความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของคำถามนี้ กับคะแนนแบบทดสอบทั้งหมด เป็นการหาความสัมพันธ์เพื่อหาคำตอบว่าผู้เรียนที่ได้คะแนนสูงในข้อนี้ จะเป็นคนที่ทำคะแนนได้สูงในแบบทดสอบทั้งหมดหรือไม่
ผู้สอนให้คะแนน (Manual grading)
เป็นหน้าสำหรับการกรอก หรือตรวจแบบทดสอบเพื่อให้ผู้สอนเป็นคนออกคะแนนให้แก่ผู้เรียน
ผู้สอนสามารถคลิ๊กเลือกข้อที่ต้องการตรวจและเข้าไปตรวจให้คะแนนผู้เรียนทั้งหมดในกระบวนวิชาได้
Last updated