การสร้างแบบทดสอบ (Quiz)

Quiz คิือหนึ่งในวิธีการทดสอบความรู้ของผู้เรียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เพื่อการเรียนรู้ และเพื่อการทดสอบ

หลักการทดสอบแบบ Formative และ Summative

Formative Quiz หรือ ทำ Quiz เพื่อการเรียนรู้

โดยมีเป้าหมาย คือ การตรวจสอบการเรียนรู้ของผู้เรียน ประกอบกับการนำผลลัพธ์จากการทดสอบมาประเมิน เพื่อให้ผู้สอนได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะกลับไปยังผู้เรียน เพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

  1. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตน และกำหนดเป้าหมายในส่วนที่ต้องเน้น

  2. ช่วยผู้สอนได้รับรู้ส่วนที่ผู้เรียนกำลังมีปัญหา เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกจุด

รูปแบบของ Formative Quiz โดยทั่วไปจะไม่มีการเก็บคะแนนหรือมีคะแนนน้อย เน้นผลลัพธ์จากการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่น

  1. ให้เหตุผลหรือข้อเสนอแนะระหว่างที่ผู้เรียนกำลังทำแบบทดสอบวัดความรู้

  2. ให้ผู้เรียนวาด หรือแสดงแนวคิดเพื่อแสดงความเข้าใจในหัวข้อที่อาจารย์ได้สอน

  3. ให้เขียนคำจำกัดความเพียงหนึ่งหรือสองประโยค เพื่อระบุประเด็นหลักของการบรรยาย

  4. ส่งบทคัดย่องานวิจัย เพื่อรับข้อเสนอแนะในช่วงต้น

Summative Quiz หรือ ทำ Quiz เพื่อการประเมินผล

โดยมีเป้าหมาย คือ ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน โดยการเปรียบเทียบกับมาตรฐานหรือเกณฑ์มาตรฐานบางอย่าง

รูปแบบของ Summative Quiz ค่อนข้างจะชัดเจนคือการเก็บและวัดผลคะแนนในขั้นตอนสุดท้ายของเนื้อหา

การเตรียมแบบทดสอบ

คลิ๊กที่เมนู "Turn editing on" ก่อนทำการตั้งค่า

  1. คลิ๊กที่เมนู "Add an activity or resource" แล้วเลือกที่ "Quiz"

  2. คลิ๊กปุ่ม "Add" เพื่อเพิ่มแบบทดสอบ

การตั้งค่าแบบทดสอบ (Quiz settings)

การสร้าง Quiz ใหม่หลักแล้วจะมีอยู่ 2 ขั้นตอนด้วยกัน โดยขั้นตอนแรกคือการสร้างและตั้งค่า Quiz ขั้นตอนที่สองคือการเพิ่มคำถาม ซึ่งในส่วนของการตั้งค่าจะประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้

ทั่วไป (General)

เพิ่มตั้งชื่อ Quiz ที่นี่ และสามารถเพอ่มอธิบายสิ่งที่ต้องทำได้ตามความต้องการ

กำหนดเวลา (Timing)

วันแรกที่สามารถทำแบบทดสอบได้ (Open the quiz) - การกำหนดเวลาเพื่อเข้าถึงแบบทดสอบ ผู้เรียนไม่สามารถเข้าทำแบบทดสอบได้หากยังไม่ถึงเวลาที่กำหนด แต่จะสามารถเข้ามาอ่านรายละเอียดหรือหน้าแรกของแบบทดสอบก่อนได้ วันเปิด-ปิด ของแบบทดสอบจะแสดงให้ผู้เรียนเห็นผ่านทางหน้าแรกของแบบทดสอบ

วันสุดท้ายที่อนุญาตให้ทำแบบทดสอบ (Close the quiz) - หลังจากปิดการทำแบบทดสอบ ผู้เรียนจะไม่สามารถเริ่มต้นการทดสอบใหม่ได้ คำตอบที่นักเรียนส่งหลังจากวันปิดจะไม่ถูกนับคะแนน ถึงแบบทดสอบจะถูกปิดลงผู้เรียนจะยังสามารถดูรายละเอียดแบบทดสอบและทบทวนคำตอบได้ สิ่งที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นจะขึ้นอยู่กับการตั้งค่า ที่ผู้สอนได้เลือกไว้

จำกัดเวลา (Time limit) - โดยค่าเริ่มต้นของแบบทดสอบจะไม่ได้มีการจำกัดเวลา ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีเวลามากพอที่ต้องทำแบบทดสอบ หากผู้สอนจำกัดเวลาในการทำแบบทดสอบ จะมีสถานะต่างๆ ขึ้นมาให้ผู้เรียนได้ทราบดังนี้

  1. นาฬิกาจับเวลาจะปรากฏขึ้นในบล็อกของแบบทดสอบ (ดังรูป)

  2. เมื่อเวลาหมดการทดสอบจะถูกส่งโดยอัตโนมัติพร้อมกับคำตอบข้อล่าสุดที่ผู้เรียนกำลังทำ

  3. หากผู้เรียนใช้เวลาเกินกำหนด คำตอบใดๆที่ถูกป้อนเข้ามาจะไม่ถูกนำไปนับคะแนน

เมื่อหมดเวลา (When time expires..) - มีสามทางเลือกว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเวลาหมด ผู้สอนสามารถเลือกรายการที่ต้องการจากเมนู dropdown menu

  1. แบบทดสอบที่ทำอยู่จะถูกส่งโดยอัตโนมัติ (ค่าเริ่มต้นของระบบ)

  2. ผู้เรียนสามารถส่งคำตอบหลังเวลาแบบทดสอบหมดได้ในช่วงเวลาผ่อนผันเพิ่มเติมที่กำหนด แต่ไม่สามารถทำแบบทดสอบเพิ่มได้

  3. ผู้เรียนต้องส่งคำตอบก่อนเวลาแบบทดสอบจะหมดลง

หากผู้สอนเลือก "มีช่วงเวลาผ่อนผัน ... " ผู้สอนสามารถเลือกช่องทำเครื่องหมายเพื่อเปิดใช้งาน "ระยะเวลาผ่อนผันการส่งข้อมูล" และระบุระยะเวลาที่ผู้เรียนอาจส่งคำถามหลังจากเวลาผ่านไป

คะแนน (Grade)

Grade category - กำหนดหมวดหมู่ของคะแนน

Grade to pass - กำหนดเกณฑ์การผ่านแบบทดสอบ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับ "Activity completion" หรือนำไปเป็นเงื่อนไขในการทำกิจกรรมอื่นๆ

จำนวนครั้งที่ให้ตอบ (Attempts allowed) - ผู้สอนสามารถปรับจำนวนครั้งที่อนุญาตให้ทำ สำหรับกลุ่มหรือผู้ใช้ที่ต้องการได้

วิธีตัดเกรด (Grading method) - เมื่อจำนวนการตอบทำได้หลายครั้ง ผู้สอนสามารถใช้เกรดต่างๆเพื่อคำนวณหาคะแนนสุดท้ายของผู้เรียนในการทำแบบทดสอบ

รูปแบบ (Layout)

ผู้สอนสามารถกำหนดว่าแบบทดสอบจะมีหน้าละกี่ข้อผ่านเมนู New page และสามารถกำหนดการทำแบบทดสอบว่าจะถูกบังคับทำเรียงลำดับ หรือทำข้อไหนก่อนก็ได้แบบอิสระผ่านเมนู Navigation method

รูปแบบของคำถาม (Question behavior)

  1. Deferred feedback - ผู้เรียนต้องตอบคำถาม และส่งคำตอบทั้งหมดก่อนที่จะมีการให้คะแนนหรือได้รับข้อเสนอแนะใด ๆ

  2. Adaptive mode - ช่วยให้ผู้เรียนสามารถตอบคำถามข้อเดิมได้หลายครั้ง ก่อนที่จะข้ามไปยังคำถามถัดไป

  3. Interactive mode - หลังจากตอบหนึ่งคำถาม ผู้เรียนสามารถคลิกปุ่ม 'ลองทำอีกครั้ง' และอ่านคำแนะนำเพื่อตอบคำถามใหม่อีกครั้งได้ เมื่อผู้เรียนตอบคำถามถูกต้องแล้วพวกเขาก็จะไม่สามารถกลับมาตอบคำถามได้อีก เมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิด (หรือถูกต้องบางส่วน) หลายครั้ง โดยแต่ละครั้งอาจมีข้อเสนอแนะที่แตกต่างกัน ตามจำนวนครั้งที่ผู้เรียนได้รับสิทธิ์ในการตอบ

  4. Immediate feedback - คล้ายกับ Interactive mode การที่ผู้เรียนสามารถส่งคำตอบของตนเองได้ทันทีในระหว่างการตอบคำถามและรับคะแนน อย่างไรก็ตามพวกเขาสามารถตอบได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นพวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำตอบได้ในภายหลัง

  5. Certainty-based marking (CBM) - ผู้เรียนไม่เพียงแต่ตอบคำถามเท่านั้น แต่ต้องยังระบุว่าพวกเขามีความมั่นใจในคำตอบมากขนาดไหน คะแนนที่ได้จะได้รับการปรับจากความมั่นใจของผู้เรียนในข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เรียนต้องสะท้อนความซื่อสัตย์ในระดับความรู้ของตนเองเพื่อให้ได้คะแนนที่ดีที่สุด

Review options

ในส่วนนี้จะควบคุมข้อมูลที่ผู้เรียนจะได้รับ หลังจากที่พวกเขาได้ส่งคำตอบในการทำแบบทดสอบรูปแบบต่างๆ หรือในระหว่างการทำแบบทดสอบในแบบ Adaptive mode

การแสดงผล (Appearance)

สามารถเลือกได้ว่าจะให้โชวรูปของผู้ทำแบบทดสอบหรือไม่ หรือการกำหนดจุดทศนิยมของคะแนนแบบทดสอบ

Extra restrictions on attempts

  1. ต้องใส่รหัสผ่าน (Require password) - ผู้เรียนจะต้องกรอกรหัสผ่านก่อนถึงเข้าทำแบบทดสอบได้ เป็นประโยชน์มากหากผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนบางกลุ่มเข้าร่วมทำแบบทดสอบ และเป็นทริกอีกอย่างหนึ่ง หากกระบวนวิชามีผู้เรียนจำนวนมากที่ต้องเข้ามาตอบคำถามพร้อมกัน การตั้งรหัสผ่านยาวๆ จะช่วยลดภาระการโหลดของเซิร์ฟเวอร์ให้กระจายไปตามเวลา

  2. ต้องมีที่อยู่เน็ตเวิร์ค (Require network address) - ผู้สอนสามารถจำกัดการเข้าถึงแบบทดสอบ เฉพาะกับเครือข่ายย่อยบน LAN หรืออินเทอร์เน็ตโดยการระบุรายการหมายเลขที่อยู่ IP เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการทำแบบทดสอบที่จัดทำขึ้น โดยผู้สอนต้องการให้แน่ใจว่ามีเฉพาะผู้ที่อยู่ในห้องเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงแบบทดสอบได้ ซึ่งมี 3 รูปแบบด้วยกัน

    1. ใช้ IP เต็ม (Full IP addresses) - เช่น 192.168.10.1 ซึ่งจะตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ Proxy เพียงเครื่องเดียว

    2. ใช้ IP บางส่วน (Partial addresses) - เช่น 192.168 ซึ่งจะใช้ได้กับเครื่องที่ขึ้นต้นด้วยตัวเลขดังกล่าวเท่านั้น

    3. ใช้แบบ CIDR (CIDR notation) - เช่น 231.54.211.0/20 ซึ่งจะช่วยให้สามารถระบุ subnet ที่ละเอียดมากยิ่งขึ้นได้

  3. การหน่วงเวลาระหว่างการทำแบบทดสอบ (Enforced delay between attempts) - คุณสามารถตั้งเวลา (ตั้งแต่รายวินาทีถึงระดับสัปดาห์) ระหว่างการทำแบบทดสอบแต่ละครั้ง หรือจะตั้งค่าให้เริ่มหน่วงเวลาหากผู้เรียนทำแบบทดสอบถึงจำนวนที่ตั้งค่าเอาไว้ก็ได้

  4. ความปลอดภัยของบราวเซอร์ (Browser security) - เป็นตัวเลือกที่ใช้เพื่อพยายามจำกัด วิธีที่ผู้เรียนอาจพยายาม 'โกง' ขณะทำแบบทดสอบ อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงแค่การจำกัดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบางอย่างเท่านั้น (เช่น ความสามารถในการค้นหาคำตอบได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เครื่องมือค้นหา)

Overall feedback

ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำจะแสดงขึ้น หลังจากผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบเสร็จ โดยข้อความที่แสดงขึ้นอยู่กับคะแนนที่ผู้เรียนได้รับ เช่น

วิธีสร้างคำถามและกำหนดคะแนน

หลังจากสร้างแบบทดสอบ (Quiz) และทำการตั้งค่าเรียบร้อยแล้ว

  1. เข้ามาที่แบบทดสอบที่ได้สร้างไว้ แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม "Edit quiz"

  2. กำหนดคะแนนของ Quiz จากช่อง "Maximum grade" บริเวณด้านขวาของหน้าจอ และคลิ๊ก 'save'

  3. เพิ่มคำถามโดยคลิ๊กที่เมนู "Add" เลือกหัวข้อ a new question เพิ่มเริ่มใส่คำถาม

1. แบบปรนัย (Multiple Choice)

สามารถตั้งค่าการทำแบบทดสอบได้ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ แบบมีคำตอบเดียว(Single-answer) และ หลายคำตอบ(Multiple-answer) โดยขั้นตอนการสร้างคำถามมีดังนี้

  1. ตั้งคำถาม

  2. กำหนดคะแนน

  3. เพิ่มคำตอบ (Choice)

  4. เพิ่มข้อเสนอแนะ (Feedback)

2. แบบจับคู่ (Matching)

ผู้สอนต้องมีคำถาม(Question) อย่างน้อยสองข้อ และมีตัวเลือก(Answer) สามข้อเพื่อทำการจับคู่ โดยผู้สอนสามารถกำหนดตัวเลือกเพิ่มเติมได้โดยให้ช่อง Question เว้นว่างไว้

  1. ตั้งคำถาม

  2. เพิ่มตัวเลือกคำตอบเพื่อจับคู่ (สามารถเพิ่มตัวเลือกคำตอบมากกว่าคำถามได้)

3. แบบเติมคำ (Short Answer)

ในขณะการตอบ ผู้เรียนจะพิมพ์คำหรือวลีเพื่อตอบคำถาม (ซึ่งอาจรวมถึงรูปภาพด้วย) ซึ่งอาจจะมีคำตอบที่ตรงหรือไม่ก็ได้ ผู้สอนจำเป็นต้องกำหนดคำตอบที่มีความเป็นไปได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นผู้สอนควรกำหนดคำตอบที่ต้องการให้สั้นที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงคำตอบที่ถูกต้องแต่ไม่ตรงกับเฉลยที่ผู้สอนวางไว้

  1. ตั้งคำถาม

  2. การตั้งค่า Case sensitivity คือ ผู้เรียนจะต้องตอบให้ตรงกับเฉลยทุกตัวอักษร

  3. กำหนดคำตอบและเกณฑ์การให้คะแนน

  4. เพิ่มเติมข้อเสนอแนะ

คำสั่งพิเศษสำหรับการตั้งค่าคำตอบ

คุณสามารถใช้เครื่องหมายดอกจัน (*) เพื่อเป็นตัวเชื่อมคำต่างๆ เช่น

ran*ing - หมายถึงคำตอบใดก็ตามที่ขึ้นต้นด้วย "ran" และลงท้ายด้วย "ing" จะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ใช้ "\*" หากคำตอบต้องใช้เครื่องหมายดอกจันจริงๆ

ตัวอย่างของการตั้งเกณฑ์การให้คะแนน

oxygen*fuel คะแนน 100% = คำตอบใดๆที่ขึ้นต้นด้วย oxygen และลงท้ายด้วย fuel จะได้คะแนนเต็ม
*fuel* คะแนน 50% = หากคำตอบมีเฉพาะคำว่า fuel จะได้คะแนนครึ่งเดียว
*air* คะแนน 40% = หากคำตอบมีเฉพาะคำว่า air จะได้คะแนน 40% เป็นต้น

4. แบบเรียงความ (Essay)

คำถามประเภทเรียงความให้ตัวเลือกกับผู้เรียน ในการตอบโดยสามารถอัปโหลดไฟล์ หรือการตอบข้อความแบบออนไลน์ก็ได้

วิธีสร้างคำถามประเภทเรียงความมีลักษณะการสร้าง คล้ายกับการสร้างคำถามในรูปแบบอื่นๆ ความแตกต่างก็คือคำถามแบบเรียงความจะต้องมีผู้ทำการตรวจและให้คะแนน ต่างกับแบบอื่นที่ระบบสามารถตรวจคำตอบและให้คะแนนได้ทันที

Response template

ผู้สอนสามารถสร้างแบบร่างเพื่อให้ผู้เรียนเห็นเค้าโครงของคำตอบได้ ซึ่งจะแสดงให้เห็นเมื่อผู้เรียนทำการเริ่มทำการทำแบบทดสอบ

วิธีสร้างหมวดหมู่ของคำถาม และการนำไปใช้ (Question categories)

หมวดหมู่ของคำถามคืออะไร?

คุณสามารถจินตนาการหมวดหมู่คำถามเป็นโฟลเดอร์บนคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปของคุณก็ได้ ซึ่งคำถามจะถูกเก็บไว้ในหมวดหมู่เหล่านี้ในลักษณะเดียวกับที่ไฟล์ของคุณเก็บไว้ในโฟลเดอร์

วิธีสร้างหมวดหมู่ของคำถาม (Categories)

  1. จากหน้าแรกของกระบวนวิชาคลิ๊กที่ปุ่ม "Course Management"

  2. เลือกเมนู "Question category"

  3. ในส่วนของ "Add category" ให้ทำการตั้งชื่อหมวดหมู่ที่ต้องการ

  4. และคลิ๊กที่ปุ่ม "Add category"

การจัดหมวดหมู่ของคำถาม

  1. จากหน้าแรกของกระบวนวิชาคลิ๊กที่ปุ่ม "Course Management"

  2. เลือกเมนู "Question bank"

  3. เลือกคำถามที่ต้องการจัดหมวดหมู่ และเลือกหมวดหมู่ที่ต้องการ

  4. และคลิ๊กที่ปุ่ม "Move to >>"

ประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่ของคำถาม

  1. ช่วยในการแบ่งคำถามอย่างเป็นสัดส่วน เวลาเลือกคำถามจากการสร้างแบบทดสอบ สามารถนำมาใช้ได้โดยเลือกเมนู "Add -> from quetion bank"

  2. ช่วยเพิ่มความหลากหลายในการทำแบบทดสอบ เช่น

สร้างหมวดหมู่แบ่งออกเป็น "บทที่ 1" และ "บทที่ 2"
เพิ่มคำถามเข้าไปยังหมวดหมู่ของ "บทที่ 1" 20 คำถามและ "บทที่ 2" 15 คำถาม
สร้าง Quiz และทำการใส่คำถาม
เลือกเมนู "Add -> a random question" 

การดูตัวอย่างก่อนเปิดใช้งานจริง (Preview Quiz)

การเข้าดูตัวอย่างของแบบทดสอบก่อนเปิดใช้จริง เป็นการตรวจสอบการใช้งานจริง ก่อนที่ผู้สอนจะนำแบบทดสอบนี้ไปใช้กับผู้เรียน เป็นการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าแบบทดสอบที่ผู้สอนออกแบบนั้นมีรูปแบบที่ผู้สอนต้องการจริงๆ ซึ่งมีวิธีการใช้งาน ดังนี้

  1. คลิ๊กที่ไอค่อนฟันเฟือง (Actions) บริเวณมุมขวาของแบบทดสอบ

  2. เลือกเมนู "Preview" เพื่อเข้าดูตัวอย่างแบบทดสอบ

การเข้าดูรายงานผลของแบบทดสอบ (Quiz reports)

จากหน้าของแบบทดสอบ

  1. คลิ๊กที่ไอค่อนฟันเฟือง (Actions) บริเวณมุมขวาของแบบทดสอบ

  2. เลือกเมนู ดังภาพ

คะแนน (Grades)

แสดงการตอบคำถามทั้งหมดของผู้เรียน โดยมีคะแนนรวมและคะแนนสำหรับคำถามแต่ละข้อ และมีลิงก์เพื่อดูรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับการตอบคำถามของผู้เรียน ในหน้าเพจที่เหมือนกันกับหน้าทำแบบทดสอบที่ผู้เรียนเห็น

โดยผลลัพธ์สามารถดาวน์โหลดได้ในรูปแบบไฟล์ต่างๆ

การตอบคำถาม (Responses)

หน้าตาจะคล้ายกับหน้าคะแนน แต่จะเน้นคำตอบข้อต่างๆของผู้เรียน มากกว่าแสดงคะแนนที่พวกเขาได้รับ

นอกจากนี้ยังสามารถแสดงคำถามหรือคำตอบที่ถูกต้องเพื่อเปรียบเทียบกับการตอบของผู้เรียน ซึ่งเป็นประโยชน์มากเมื่อมีการใช้คำถามแบบสุ่ม

หรือสำหรับแบบทดสอบแบบโต้ตอบ (Interactive mode) ผู้สอนสามารถเลือกดูได้ว่าจะให้แสดงคำตอบครั้งแรก หรือครั้งสุดท้าย หรือทั้งหมดที่ผู้เรียนได้ทำการตอบเข้ามา

สถิติ (Statistics)

เป็นสถิติการตอบคำถามในแบบทดสอบ ซึ่งมีข้อมูลสำคัญต่างๆ เช่น

  1. Facility Index - เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนที่ตอบคำถามอย่างถูกต้อง เป็นการบแสดงถึงความยากง่ายของคำถาม

  2. Random guess score - คะแนนที่ผู้เรียนจะได้รับ โดยการคาดเดาแบบสุ่ม

  3. Discrimination index/efficiency - ค่าความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนของคำถามนี้ กับคะแนนแบบทดสอบทั้งหมด เป็นการหาความสัมพันธ์เพื่อหาคำตอบว่าผู้เรียนที่ได้คะแนนสูงในข้อนี้ จะเป็นคนที่ทำคะแนนได้สูงในแบบทดสอบทั้งหมดหรือไม่

ผู้สอนให้คะแนน (Manual grading)

เป็นหน้าสำหรับการกรอก หรือตรวจแบบทดสอบเพื่อให้ผู้สอนเป็นคนออกคะแนนให้แก่ผู้เรียน

ผู้สอนสามารถคลิ๊กเลือกข้อที่ต้องการตรวจและเข้าไปตรวจให้คะแนนผู้เรียนทั้งหมดในกระบวนวิชาได้

Last updated